อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์
      ตำบลทำนบ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอท่าตะโกไปเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ 66.02 ตารางกิโลเมตร หรือจำนวน 41,158.01 ไร่
โดยมีอาณาเขตติดกับพื้นที่ตำบลต่าง ๆดังนี้

ทิศเหนือ ติดตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก และตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี
ทิศใต้ ติดตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก
ทิศตะวันออก ติดตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี
ทิศตะวันตก ติดตำบลหัวถนน ตำบลท่าตะโก อำเภอท่าตะโก

แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ


      เดิมราษฏรบ้านทำนบ อพยพมาจากตำบลดอนคา สาเหตุการอพยพเนื่องจากเกิดโรคระบาด ราษฏรได้อพยพหนีตายมาตามคลองวังตาจันทร์ และราษฏรได้รับจับจองที่ดินทำกินบริเวณพื้นที่ราบ เมื่อราษฏรอพยพมาอยู่กันมากขึ้นราษฏรได้ช่วยกันสร้างทำนบกั้นน้ำเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรและใช้ดื่มกินจึงได้เรียกซื่อว่า " บ้านทำนบ "

คนได้อพยพมาหลายครอบครัวและในสมัยก่อนจะมีความเชื่อเรื่องสิ่งเร้นลับเรื่องวิญญาณ เทวดาภูตผี การเวียนไหว้ตายเกิด สิ่งต่างๆ ที่อยู่เหนือธรรมชาติ เมื่อมาอยู่ในเขตที่ใหม่ก็ต้องมีการสักการะบูชาพื้นที่ขึ้น พิธีต่างๆ ของหมู่บ้านจึงเกิดขึ้นมาพิธีนี้คือ การทำบุญ ซึ่งได้มีผู้เริ่มก่อตั้งคือ ปู่อยู่ คล้ายมอญ ได้สร้างศาลไว้ตรงพื้นที่ว่าง "ดูทำเล แล้วคิดว่าน่าจะอยู่ตรงกลางของหมู่บ้านทำนบพอดี" แต่ก่อนเป็นป่าที่ว่างไม่มีเจ้าของ ต่อมามีคนจับจองคือ นายเยื้อง เทียนแจ่ม ปัจจุบันเป็นเจ้าของพื้นที่ที่นีคือ เจ๊กซุ้ย อยู่ตลาดท่าตะโก และบุคคล ในหมู่บ้านได้เช่าพื้นที่ตรงนี้ทำนา

ศาลตรงนี้ได้จัดตั้งมาแล้วประมาณ ๘๐ ปี โดยปู่อยู่ เป็นผู้ตั้ง ปู่อยู่เป็นผู้ที่ชำนาญเกี่ยวกับเรื่องการปราบผีและเซ่นไหว้ ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องลางของขลังต่างๆ ชาวบ้านจะเรียกกันว่า หมออยู่ พอตั้งศาลแล้วชาวบ้านก็เริ่มมาสักการะบูชากลู่มกัน เมื่อถึงเดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ หรือบางปีอาจจะเป็นเดือน ๓ ขึ้น ๘ ค่ำ ก่อนถึงวันทำบุญ ๑ วันจะเห็นว่าผู้คนในหมู่บ้านเตรียมของที่จะทำบุญ ก็มีข้าวหลาม การเผาข้าวหลามในหมู่บ้านจะทำกันเกือบทุกหลังคาเรือนและจะเห็นได้ชัดทำให้ทราบว่าพรุ่งนี้ถึงกำหนดเวลาทำบุญกลางบ้านแล้วการทำบุญกลางบ้านนี้จะเริ่มทำตั้งแต่เช้า มีการนิมนต์พระสงฆ์มาฉันท์อาหารบริเวณหน้าศาล การทำบุญนี้จะมีพิธีเหมือนการทำบุญวันพระทั่วไปแต่จะมีอาหารที่เป็นจุดเด่นคือ "ข้าวหลาม" ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นความเชื่อของคนสมัยก่อน เมื่อทำพิธีทาวสงฆ์แล้วชาวบ้านจะนำพวงมาลัยมาไหว้บูชาศาลและที่เชื่อถือตามประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การนำตอกไปหักให้เท่ากับจำนวนบุคคลในครอบครัวของตเอง ชาวบ้านจะเรียกว่า " การหักตอกไถ่โทษตัว " เชื่อกันว่าจะเป็นการนำสิ่งที่ไม่ดีในชีวิตออกไปจากครอบครัวและนำสิ่งที่ดีเข้ามาในครอบครัวของตนในแต่ละปีนั้นๆ ในบางครั้งที่ทำบุญนี้จะมีการประชุมแจ้งข่าวสารให้กับชาวบ้านได้ทราบ ชาวบ้านในหมู่บ้านให้ความเคารพกราบไหว้ศาลนับถือศาลนี้เป็นอย่างมาก เพราะศาลนี้เปรียบเสมือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นศูนย์รวมของคนในหมู่บ้านทำนบ เป็นสิ่งสำหรับกราบไหว้ขอพรของคนหมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ และหมู่ที่ ๖ หรือหมู่อื่นๆ ของหมุ่บ้านด้วย และที่ศาลมีการเขียนชื่อ ท้าวเวชสุวรรณโณ ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นของโรคห่าที่ระบาดในหมู่บ้าน ในศาลยังประกอบด้วยชื่อ พ่อบางเย็น แม่ดอนคูณ ที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ที่คอยปกปักรักษาความร่มเย็นเป็นสุขในหมู่บ้านชาวบ้านได้ปฏิบัติพิธีการทำบุญนี้สืบต่อกันมาจนกระทั่งถือเป็นประเพณีที่สำคัญของหมู่บ้านทำนบซึ่งจะเรียกกันว่า " ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน" ..

วิสัยทัศน์
"เศรษฐกิจยั่งยืน พื้นฐานมั่นคง ซื่อตรงบริการ
บริหารสิ่งแวดล้อม เตรียมพร้อมชุมชน ผู้คนปลอดภัย"
พันธกิจการพัฒนา
1.มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งเป็นฐานรากของฐานท้องถิ่น
2.พัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาสังคม พัฒนาการศึกษา พัฒนาสิ่งแวดล้อม พัฒนาสาธารณสุข พัฒนาแหล่งน้ำ
สาธารณูปโภคสาธารณูปการ สนับสนุนส่งเสริม วัฒนาธรรมประเพณีของท้องถิ่น และประชาชนมีส่วนร่วม
3.บริหารงานตามหลักธรรมภิบาล โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
ยุทธศาสตร์
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว
3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการศึกษาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต
4. ยุทธศาสตร์ด้านการการอนุรักษ์และสืบสาน ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน
5. ยุทธศาสตร์ด้านเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง
6. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
7. ยุทธศาสตร์การสร้างธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี